Search
Close this search box.

ISUZU ร่วมโครงการ “การร่วมสร้างสรรค์อนาคตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา” ของ METI ทดลองเปลี่ยนแบตเตอรี่ในไทย

อีซูซุซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนด้านโลจิสติกส์และการใช้ชีวิตในประเทศไทยได้รับเลือกให้เข้าร่วมการทดลองโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery-swapping Solution) ที่จะช่วยแก้ปัญหาด้านโลจิสติกส์และพลังงานเพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทยให้สำเร็จได้

มร. ชินสุเกะมินามิ (Mr. Shinsuke Minami) ประธานบริษัทอีซูซุมอเตอร์ประเทศญี่ปุ่น (สำนักงานใหญ่ที่เมืองโยโกฮามาจังหวัดคานางาวะ) ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “อีซูซุ”มร. คัตสึยะนาคานิชิ (Mr. Katsuya Nakanishi) ประธานบริษัทมิตซูบิชิคอร์ปอเรชั่น (สำนักงานใหญ่ที่เขตชิโยดะกรุงโตเกียว) ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า "MC" ได้ร่วมกันยื่นสมัครโครงการ “การร่วมสร้างสรรค์อนาคตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา” (The Global South Future-Oriented Co-Creation Project) อันเป็นโครงการทดลองขนาดใหญ่ในอาเซียน [i] ของกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมเพื่อขอรับเงินอุดหนุนประจำปี 2566 ซึ่งได้รับการคัดเลือกแล้วโดยตั้งแต่ปีงบประมาณ 2568 อีซูซุและ MC จะดำเนินโครงการทดลองในประเทศไทยเพื่อแนะนำโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ (Battery-swapping solution) และการเชื่อมต่อภาคส่วนต่างๆเข้ากับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานไฟฟ้า

JETRO โครงการ “การร่วมสร้างสรรค์อนาคตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา” (การทดลองขนาดใหญ่ของประเทศสมาชิกอาเซียน) (เงินอุดหนุน)" (6 มิถุนายน 2567) https://www.jetro.go.jp/services/grobal_south/info.html [ii] เพื่อมุ่งหวังที่จะส่งเสริมการลดคาร์บอนในสังคมโดยรวมและสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมที่ยั่งยืนในการใช้พลังงานหมุนเวียนโดยการเชื่อมต่อและบูรณาการภาคส่วนการผลิตไฟฟ้ากับภาคส่วนการใช้งานอื่นๆเช่นการขนส่งโลจิสติกส์และพลังงานความร้อน

โครงการ “การร่วมสร้างสรรค์อนาคตของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา” มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและสนับสนุนกลุ่มประเทศเหล่านี้ให้เป็นพื้นที่ในการดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาของกลุ่มประเทศดังกล่าวและใช้ประโยชน์จากศักยภาพการเติบโตของตลาดในภูมิภาคนอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะนำไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมในญี่ปุ่นและเสริมสร้างอุตสาหกรรมในประเทศ

อีซูซุและ MC ได้ร่วมกันพัฒนาธุรกิจรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทยซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียนมาตั้งแต่ปี 2500 อีซูซุได้จัดตั้งโรงงานหลักในการผลิตรถปิกอัพในประเทศไทย 2 แห่งและสร้างห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งด้วยการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศสูงกว่า 90% เพื่อประกอบและผลิตรถนอกจากนี้ผู้จำหน่ายรถอีซูซุได้ดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นกับลูกค้าผ่านกิจกรรมการขายและการตลาดทั้งรถปิกอัพและรถบรรทุกโดยได้รับความไว้วางใจจากคนไทยในวงกว้างและมีส่วนแบ่งตลาดในสัดส่วนสูงและได้มีส่วนสนับสนุนการพัฒนาและการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยมาตลอด
ตามนโยบายส่งเสริมความเป็นกลางทางคาร์บอนผ่าน “โซลูชั่นส์อันหลากหลาย”ที่ระบุไว้ในแผนบริหารจัดการระยะกลางของอีซูซุ (“การเปลี่ยนผ่านของอีซูซุ – การเติบโตสู่ปี2030 หรือ IX”) ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดที่สำคัญที่สุดของทั้งสองบริษัทและเป็นผู้ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์อาเซียนโดยรวมได้รับเลือกให้ดำเนินการในโครงการทดลองนี้

โครงการทดลองนี้จะนำเครื่องมือการใช้งานจริงของโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่เรียกว่า "EVision Cycle Concept [iii]" ซึ่งอีซูซุได้เปิดตัวที่งาน JAPAN MOBILITY SHOW 2023 เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วโซลูชั่นการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่สามารถสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ที่ชาร์จเต็มแล้วได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่นาทีหลีกเลี่ยงเวลาเสียเปล่าที่เกิดจากการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (BEV) นอกจากนี้การแยกตัวรถและแบตเตอรี่ออกจากกันยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการพลังงานรูปแบบอื่นได้เป็นต้นว่าการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โครงการทดลองนี้จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ2568เป็นความร่วมมือจาก5บริษัทรวมถึงอีซูซุ, MC, บริษัทอีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัดและบริษัทตรีเพชรอีซูซุเซลส์จำกัดซึ่งเป็นบริษัทในเครือจะดำเนินการทดลองจริงโดยได้รับความร่วมมือจากบริษัท Commercial Japan Partnership Technologies Asia จำกัดในการสนับสนุนกิจกรรมความเป็นกลางทางคาร์บอนที่เป็นลักษณะเฉพาะของประเทศไทยด้วย

ด้วยเป้าหมายในการสร้างสังคมที่เป็นกลางทางคาร์บอนทั่วโลกโครงการทดลองนี้จะส่งเสริมการสับเปลี่ยนแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า (BEV) ในส่วนของรถเพื่อการพาณิชย์ให้มีความแพร่หลายมากขึ้นซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคพลังงานไฟฟ้าและเพื่อดำเนินการสร้างระบบพลังงานใหม่รวมถึงพลังงานหมุนเวียนที่สถานีสับเปลี่ยนแบตเตอรี่อีซูซุและMC จึงมุ่งมั่นจะร่วมกันพัฒนาและลดการปล่อยคาร์บอนในอุตสาหกรรมรถเพื่อการพาณิชย์ในประเทศไทยต่อไป