Search
Close this search box.

NISSAN ประกาศแผนธุรกิจ The Arc เสริมสร้างความร่วมมือเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ Ambition 2030

• นิสสันตั้งเป้ายอดขายเพิ่มขึ้น 1 ล้านคัน เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2023 และความสามารถในการทำกำไรจากการดำเนินงานมากกว่า 6% ภายในสิ้นปีงบประมาณ 2026
• แนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ 30 รุ่นภายในปีงบประมาณ 2026 โดย 16 รุ่นจะเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
• 60% ของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายใน (ICE) จะได้รับปรับโฉม ภายในปีงบประมาณ 2026
• เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของรถยนต์ไฟฟ้าโดยการลดต้นทุนของ EV รุ่นต่อไปลง 30% และทำให้ต้นทุนของรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปมีความใกล้เคียงกันภายในปีงบประมาณ 2030
• ลดต้นทุน รถยนต์ไฟฟ้ารุ่นต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ สามารถทำได้ผ่านการพัฒนาแบบ "กลุ่มครอบครัว" พร้อมการผลิตรถยนต์ภายใต้แนวทางที่จะเริ่มต้นในปีงบประมาณ 2027
• สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ขยายไปสู่เทคโนโลยี กลุ่มผลิตภัณฑ์ และบริการซอฟต์แวร์ต่างๆ
• จ่ายเงินปันผล และซื้อคืนหุ้นเพื่อตั้งเป้าผลตอบแทนรวมของผู้ถือหุ้นมากกว่า 30%
• การร่วมลงทุนทางธุรกิจใหม่เพื่อเพิ่มศักยภาพการทำรายได้ 2.5 ล้านล้านเยน ภายในปีงบประมาณ 2030

บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด เปิดตัวแผนธุรกิจ The Arc เพื่อขับเคลื่อนมูลค่า และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน แผนดังกล่าวมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงรุกในวงกว้าง เพิ่มผลิตภัณฑ์ยานยนต์ไฟฟ้า แสวงหาแนวทางใหม่ๆ ในด้านวิศวกรรม และการผลิต ตลอดจนการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ และอาศัยความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อเพิ่มยอดขายทั่วโลก และพัฒนาความสามารถในการทำกำไร

แผนดังกล่าวจะเป็นสะพานเชื่อมระหว่างแผนการเปลี่ยนแปลงธุรกิจของ Nissan NEXT ที่เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ* 2020 ถึงปีงบประมาณ 2023 และNissan Ambition 2030 ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ระยะยาวของบริษัท แผนใหม่นี้แบ่งออกเป็นความจำเป็นระยะกลางสำหรับปีงบประมาณ 2024 ถึง 2026 และการดำเนินการระยะกลางถึงระยะยาวที่จะดำเนินการจนถึงปี 2030

มาโกโตะ อุชิดะ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของนิสสัน (Makoto Uchida - Nissan President and Chief Executive Officer) กล่าวว่า “แผนธุรกิจ The Arc จะแสดงถึงการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และความสามารถของนิสสันในการดำเนินงานในสภาวะตลาดที่เปลี่ยนไป แผนดังกล่าวจะทำให้เราสามารถขับเคลื่อนคุณค่า และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้น และเร็วขึ้น เมื่อต้องเผชิญกับความผันผวนที่รุนแรงของตลาด นิสสันกำลังดำเนินการอย่างเด็ดขาดตามแผนใหม่นี้เพื่อให้มั่นใจว่าเกิดการเติบโต และให้ผลกำไรที่ยั่งยืน”

ภายใต้แผนซึ่งประกอบด้วยสององค์ประกอบหลัก นิสสันจะเริ่มต้นด้วยการดำเนินการตามกลยุทธ์ที่ออกแบบมาให้เหมาะสมกับแต่ละภูมิภาค เพื่อเพิ่มยอดขาย และเตรียมพร้อมไปสู่การเปลี่ยนผ่านสู่ยานยนต์ไฟฟ้า ผ่านกลุ่มผลิตภัณฑ์ทั้งยานยนต์ไฟฟ้า และเครื่องยนต์สันดาปในสัดส่วนที่สมดุลกัน ด้วยการเพิ่มยอดขายในตลาดหลัก รวมถึงวินัยทางการเงิน ด้วยความคิดริเริ่มเหล่านี้ นิสสันตั้งเป้าที่จะเพิ่มยอดขายต่อปีให้ถึง 1 ล้านคัน และเพิ่มอัตรากำไรจากการดำเนินงานให้มากกว่า 6% ทั้งสองอย่างภายในสิ้นปีงบประมาณ 2026 ถือเป็นการปูทางสำหรับส่วนที่สองของแผนงานที่มุ่งส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านไปเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า และตระหนักถึงการเติบโตที่มีผลกำไรในระยะยาว โดยได้รับการสนับสนุนจากความร่วมมือที่ชาญฉลาด รวมถึงความสามารถในการแข่งขันด้านยานยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น นวัตกรรมที่แตกต่าง และช่องทางสร้างรายได้ใหม่ๆ ภายในปีงบประมาณ 2030 นิสสันมองเห็นศักยภาพในการสร้างรายได้ 2.5 ล้านล้านเยน จากโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ

กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สมดุล
นิสสันวางแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ 30 รุ่นในช่วงสามปีข้างหน้า โดยในจำนวนนี้จะเป็นรุ่นที่ใช้ระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า (EV) 16 รุ่น และรุ่นเครื่องยนต์สันดาป (ICE) 14 รุ่น เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายในตลาดที่มีความเร็วของการใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อนที่ต่างกัน นิสสันวางแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้า 34 รุ่นในช่วงระหว่างปีงบประมาณ 2024 ถึง 2030 เพื่อให้ครอบคลุมลูกค้าทุกกลุ่ม โดยคาดว่าจะมีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าถึง 40% ทั่วโลกภายในปีงบประมาณ 2026 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ภายในสิ้นทศวรรษนี้

สร้างความเชื่อมั่นในการเติบโตของตลาดผ่านกลยุทธ์ที่ปรับให้เหมาะสมกับระดับภูมิภาค
ในภูมิภาคและตลาดที่สำคัญ การดำเนินการของนิสสันภายในปีงบประมาณ 2026 (เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอย่างอื่น) รวมถึง:

ตลาดอเมริกา:
• เพิ่มยอดขายในภูมิภาค 330,000 คัน (ในปีงบประมาณ 2026 และเมื่อเทียบกับปีงบประมาณ 2023) และลงทุนมูลค่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐด้านการบูรณาการประสบการณ์ลูกค้า
• ในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดา: เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ทั้งหมด 7 รุ่น
• ในสหรัฐอเมริกา: ปรับโฉมกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นสัดส่วน 78% สำหรับแบรนด์นิสสัน และเปิดตัวรุ่นเครื่องยนต์อี-พาวเวอร์ และเครื่องยนต์แบบปลั๊กอินไฮบริด

ตลาดจีน :
• ปรับโฉมรถยนต์แบรนด์นิสสันเป็นสัดส่วน 73% และเปิดตัวรถยนต์พลังงานใหม่ (NEV) 8 รุ่น ซึ่งในจำนวนนี้รวมรถยนต์แบรนด์นิสสัน 4 รุ่น
• ตั้งเป้ายอดขาย 1 ล้านคันในปีงบประมาณ 2026 ซึ่งเพิ่มขึ้น 200,000 คัน
• เริ่มส่งออกรถยนต์ในปี 2568 วางเป้าหมายที่ 100,000 คัน
• เพิ่มประสิทธิภาพกำลังการผลิตร่วมกับพันธมิตรในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง

ตลาดญี่ปุ่น:
• ปรับโฉมเป็นสัดส่วน 80% ของกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล พร้อมเปิดตัว 5 รุ่นใหม่
• วางเป้าหมายรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 70% ในกลุ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล
• เพิ่มยอดขาย 90,000 คัน (เทียบกับปีงบประมาณ 2023) เป็น 600,000 คันในปีงบประมาณ 2026

ตลาดแอฟริกา ตะวันออกกลาง อินเดีย ยุโรป และโอเชียเนีย:
• เพิ่มยอดขายระหว่างภูมิภาค 300,000 คัน (ในปีงบประมาณ 2026 และเทียบกับปีงบประมาณ 2023)
• ในยุโรป: เปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ 6 รุ่น; บรรลุสัดส่วนยอดขายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าถึง 40%
• ในตะวันออกกลาง: เปิดตัวรถ SUV ใหม่ทั้งหมด 5 รุ่น
• ในอินเดีย: เปิดตัว 3 รุ่นใหม่ และส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการส่งออกในระดับ 100,000 คัน
• ในโอเชียเนีย: เปิดตัวรถกระบะ 1 ตัน และรถยนต์ไฟฟ้าในกลุ่ม C segment crossover EV
• ในแอฟริกา: เปิดตัวรถ SUV รุ่นใหม่ 2 รุ่น และขยายไปในรุ่นในกลุ่ม A-segment

ความสามารถในการแข่งขันของรถยนต์ไฟฟ้า
กลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์เชิงรุกได้รับการสนับสนุนจากแนวทางการพัฒนา และการผลิตรูปแบบใหม่ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รถยนต์ไฟฟ้ามีราคาที่จับต้องได้ และมีศักยภาพในการเพิ่มผลกำไร ด้วยการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้าในแบบ “ครอบครัว” ที่จะการบูรณาการระบบส่งกำลัง ร่วมกับการผลิตแบบโมดูลาร์ในยุคหน้า (next-generation modular manufacturing) การจัดซื้อร่วมกันแบบกลุ่ม และนวัตกรรมของแบตเตอรี่ นิสสันตั้งเป้าลดต้นทุนของรถยนต์ไฟฟ้าเจเนอเรชันหน้าลง 30% (เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ไฟฟ้า นิสสัน รุ่น อริยะ Ariya รถยนต์เอสยูวีครอสโอเวอร์รุ่นปัจจุบัน) และบรรลุ ความเท่าเทียมในด้านต้นทุนระหว่างรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปภายในปีงบประมาณ 2030

การพัฒนารถยนต์หนึ่งรุ่นหลักจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายสำหรับรถยนต์รุ่นย่อยต่อๆ ไป ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยใช้ยานพาหนะหลักจะลดลง 50% ความแปรผันของชิ้นส่วนตกแต่งลดลง 70% และระยะเวลาในการพัฒนาลดลงสี่เดือน การใช้การผลิตแบบโมดูลาร์จะทำให้สายการผลิตยานพาหนะสั้นลง ส่งผลให้เวลาในการผลิตต่อคันลดลงถึง 20%

ภายใต้แผน Arc โรงงานผลิตหลายแห่งในญี่ปุ่น และต่างประเทศจะนำ แนวคิด โรงงานอัจฉริยะของ Nissan มาใช้ ไม่ว่าจะเป็นโรงงานในโอปามา และ นิสสัน มอเตอร์ คิวชู ในญี่ปุ่น โรงงานซันเดอร์แลนด์ใน สหราชอาณาจักร และโรงงานแคนตัน และ สเมอร์น่า ในสหรัฐอเมริกา จะเริ่มใช้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2026 ไปจนถึงปีงบประมาณ 2030 ในขณะเดียวกัน แนวทางการผลิตแบบ EV36Zero จะถูกขยายจากซันเดอร์แลนด์ในสหราชอาณาจักรไปยังโรงงานต่างๆ รวมถึงแคนตัน เดเชอร์ด และสเมอร์น่า ในสหรัฐอเมริกา และโทชิกิ และคิวชู ในญี่ปุ่นตั้งแต่ปีงบประมาณ 2025 ถึง 2028

เทคโนโลยีใหม่
แผนดังกล่าวประกอบด้วยข้อเสนอเพื่อเร่งการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์อัจฉริยะ เช่น ระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ ProPILOT ยุคถัดไป ซึ่งทำให้เกิดเทคโนโลยีการขับขี่อัตโนมัติแบบ door-to-door ตั้งแต่บนทางหลวงไปจนถึงนอกทางหลวง พื้นที่ส่วนตัวรวมถึงที่จอดรถ นิสสันจะนำเสนอแบตเตอรี่ลิเธียมไอออนแบบ NCM, LFP และแบตเตอรี่โซลิดสเตต ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่ทั้งหมด เพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกัน นิสสันจะปรับปรุงแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน NCM อย่างมีนัยสำคัญ โดยลดเวลาในการชาร์จลง 50% และเพิ่มความหนาแน่นของพลังงานขึ้น 50% เมื่อเทียบกับที่ใช้ใน นิสสัน อริยะ แบตเตอรี่ LFP ที่จะพัฒนา และผลิตในญี่ปุ่น จะถูกนำมาใช้โดยจะลดต้นทุนลงถึง 30% เมื่อเทียบกับรถยนต์ขนาดเล็กอย่าง นิสสัน ซากุระ รถยนต์ไฟฟ้ามินิแวนขนาดเล็ก พร้อมแบตเตอรี่ NCM li-ion, LFP และ all-solid-state ที่ได้รับการปรับปรุงจะเปิดตัวในปีงบประมาณ 2028

ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์
นิสสันจะใช้ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน และนำเสนอผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งเทคโนโลยีระดับโลก และจะยังคงสานต่อความร่วมมือกับเรโนลต์ และมิตซูบิชิ มอเตอร์ส ในยุโรป ลาติน อเมริกา อาเซียน และอินเดีย ในประเทศจีน นิสสันจะใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในจีน และที่อื่นๆ และสำรวจความร่วมมือใหม่ๆ ในญี่ปุ่น สำหรับแบตเตอรี่ของสหรัฐอเมริกาจะได้รับการพัฒนา และจัดหาร่วมกับพันธมิตรเพื่อนำมาซึ่งกำลังการผลิตขนาด 135 กิกะวัตต์ชั่วโมงทั่วโลก

วินัยทางการเงินเพื่อส่งมอบผลงานที่ยืดหยุ่นและทำกำไรได้
รากฐานของแผนนี้คือวินัยทางการเงินที่มั่นคง ซึ่งช่วยให้อัตราส่วนการลงทุนส่วนของค่าใช้จ่ายในการลงทุน (Capital Expenditure – CAPEX) และ ค่าวิจัย และพัฒนา (R&D) ที่มีเสถียรภาพ เทียบกับรายได้สุทธิระหว่าง 7% ถึง 8% โดยไม่รวมการลงทุนด้านความจุของแบตเตอรี่ นอกจากนี้ นิสสันยังวางแผนที่จะลงทุนมากกว่า 4 แสนล้านเยน ในด้านความจุของแบตเตอรี่ ในขณะเดียวกัน การลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยจะมีสัดส่วนมากกว่า 70% ภายในปีงบประมาณ 2026

โดยการจัดการการลงทุนเหล่านี้มีเป้าหมายเพื่อให้ผลประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของบริษัททั้งหมด โดยนิสสันจะรักษากระแสเงินสดอิสระต่อกิจการ หรือ Free Cash Flow (ที่เป็นบวกก่อนการควบรวมกิจการ แม้ภายหลังการลงทุนด้านพลังงานไฟฟ้าแล้วก็ตาม ทั้งนี้เพื่อรักษาผลตอบแทนรวมของผู้ถือหุ้นที่มากกว่า 30% นิสสันตั้งเป้าที่จะรักษาเงินสดสุทธิให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมที่ 1 ล้านล้าน เยนตลอดระยะเวลาของแผน The Arc

“ภายใต้แผนงานที่ครอบคลุมนี้ เราจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของนิสสัน และบรรลุผลกำไรที่มีความยั่งยืน” อุชิดะ กล่าวเสริม “นิสสันมั่นใจว่าเรามีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินงานตามแผน ซึ่งจะทำให้เรามีรากฐานที่มั่นคงที่เชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ Nissan Ambition 2030 ของเรา”

*ปีงบประมาณของ บริษัท นิสสัน มอเตอร์ จำกัด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 31 มีนาคม