Search
Close this search box.
Search
Close this search box.

โตโยต้าจัดทัพรถที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน นำโดยพริอุส ร่วมการแข่งขัน Endurance Race 10 ชั่วโมงในประเทศไทย

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) เข้าร่วมการแข่งขันรถยนต์ในรายการ "IDEMITSU 600 SUPER ENDURANCE 2023" (การแข่งขัน Endurance Race 10 ชั่วโมงในประเทศไทย) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ สนามช้าง อินเตอร์ เนชั่นแนล เซอร์กิต จ.บุรีรัมย์ ในวันที่ 22-23 ธันวาคม โดยนำรถแข่ง 3 คัน ภายใต้ ROOKIE Racing Team ได้แก่ GR86 "ORC ROOKIE GR86 CNF concept" ใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน, COROLLA "ORC ROOKIE GR Corolla H2 concept" ใช้เชื้อเพลิงพลังงานไฮโดรเจน และ PRIUS (HEV) "CP ROOKIE PRIUS CNF-HEV GR concept" ที่จะเข้านำมาเสริมทัพในรายการนี้ โดย PRIUS ที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ มีแนวคิดในการพัฒนารถยนต์รุ่นที่มีวางจำหน่ายในท้องตลาด และนี่ยังป็นครั้งแรกของโตโยต้า ในการนำรถ HEV รุ่นที่มีการจำหน่ายเชิงพาณิชย์มาใช้ในการแข่งขัน

นอกจากนี้รถแข่งของ TOYOTA GAZOO RACING THAILAND อย่าง COROLLA GR, GR 86 และ YARIS ก็จะเข้าร่วมการแข่งขันโดยใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยเช่นกัน โดยเราจะร่วมมือกับพันธมิตรในเอเชีย เพื่อรับมือกับความท้าทายในการขยายทางเลือกที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเริ่มจากกีฬามอเตอร์สปอร์ต

นักแข่งที่เข้าร่วมการแข่งขัน
โมริโซ, ยาสึฮิโระ โอกุระ, ขจร เจียรวนนท์, มาซาฮิโระ ซาซากิ, ทัตสึยะ คาตะโอกะ, ฮิโรอากิ อิชิอุระ, คาซึยะ โอชิมะ,
นาโอยะ กาโมะ, เคนตะ ยามาชิตะ, ฮิบิกิ ไทระ, เคโซ คะโต, ไดสึเกะ โตโยดะ
*รายชื่ออาจมีการเพิ่มหรือเปลี่ยนแปลง

1. การเข้าร่วมการแข่งขันด้วยรถแข่งระบบไฮบริด (HEV) เป็นครั้งแรก

โตโยต้าเร่งขยายทางเลือกอันหลากหลายเพื่อสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนให้เกิดขึ้นจริง ผ่านการเข้าร่วมซีรีส์การแข่งขัน Super Endurance Race โดยใช้รถแข่ง COROLLA ที่ใช้พลังงานไฮโดรเจน และรถแข่ง GR86 ซึ่งใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยรถทั้ง 2 คันนี้ เคยเข้าร่วมการแข่งขัน Endurance Race 25 ชั่วโมง ในประเทศไทยเมื่อปี 2022 ซึ่งถือเป็นความท้าทายในการนำรถมาแข่งภายใต้สภาพแวดล้อมที่แตกต่างจากประเทศญี่ปุ่น โดยการแข่งขันในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดทางเลือกเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนอันหลากหลายของโตโยต้า ในการนี้ เราจึงเพิ่มรถอีกหนึ่งรุ่น คือ รถยนต์ระบบไฮบริด (HEV) เพื่อเป็นรถแข่งอีกรุ่นของโตโยต้า ซึ่งถือเป็นอีกกลยุทธ์เพื่อสร้างความเหมาะสมในการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเอเชีย และประเทศไทย ที่สำคัญ ยังเป็นการใช้เชื้อเพลิงที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนอีกด้วย

ในปัจจุบัน TOYOTA GAZOO Racing ได้พยายามพัฒนาเทคโนโลยีการแข่งรถ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศหลายรายการ ซึ่งรวมถึงการนำรถระบบไฮบริด (HEV) มาใช้ในการแข่งขัน หรือ Racing Hybrid โดยผ่านการเข้าร่วมในการแข่งขัน “World Endurance Championship” (WEC) และการแข่งขันในครั้งนี้ โตโยต้ามุ่งนำเสนอเทคโนโลยี ที่เหมาะสำหรับการขับขี่แบบสปอร์ต ผ่านรถรุ่น PRIUS ที่ผ่านการพัฒนาประสิทธิภาพในเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนไฮบริด HEV ที่มีการสร้างสมดุลระหว่างการใช้พลังงานและมรรถนะการขับขี่ ควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน

ยิ่งไปกว่านั้น ในการแข่งขันครั้งนี้ เรายังได้รับเกียรติจากเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ซึ่งเป็นพันธมิตรสำคัญที่มีจุดยืนด้านความเป็นกลางทางคาร์บอนร่วมกับโตโยต้า โดยมี คุณขจร เจียรวนนท์ ผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) และยังดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรูลีสซิ่ง จำกัด ซึ่งมีหน้าที่ดูแลธุรกิจบริการขนส่งของ CP ที่เข้าร่วมการแข่งขันในฐานะนักแข่งของ ROOKIE Racing Team ซึ่งจะมาลงแข่งโดยการขับ CP ROOKIE PRIUS CNF-HEV GR CONCEPT ที่ใช้เชื้อเพลิงที่มีความกลางทางคาร์บอนอีกด้วย

2. สร้างพันธมิตรที่จะร่วม "ผลิต" "ขนส่ง" และ "ใช้" ไฮโดรเจนในประเทศไทย

รถแข่ง COROLLA เครื่องยนต์ไฮโดรเจน ถือเป็นการท้าทายเพื่อขยายทางเลือกในการสร้างสังคมที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอน นอกจากนั้นเรายังได้สร้างพันธมิตรมากมายทั้งในญี่ปุ่น และในต่างประเทศ ผ่านกิจกรรมมอเตอร์สปอร์ตเพิ่มขึ้นเป็น 51 ราย

ในการแข่งขันรายการเอนดูรานซ์ 10 ชั่วโมง ปีนี้ โตโยต้านำเสนอความท้าทายใหม่ ในการใช้พลังงานชีวภาพที่ได้มาจากมูลจากฟาร์มสัตว์ปีกของซีพี และของเสียจากเศษอาหารที่มาจาก บริษัท โตโยต้า ไดฮัทสุ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (TDEM) เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเชื้อเพลิง ที่ใช้เติมในรถรุ่นโคโรลล่า ที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจน

ยิ่งไปกว่านั้น โดรนเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ในการสาธิตการทดลองร่วมกับ CP Group จะเผยโฉมเป็นครั้งแรกในกิจกรรมนี้ สะท้อนความพยายามในการสร้างพันธมิตรที่จะร่วม "ผลิต" "ขนส่ง" และ "ใช้" ไฮโดรเจนในประเทศไทย ทั้งนี้ โตโยต้ามุ่งขยายความพยายามในการสร้างสังคมไฮโดรเจนไปยังส่วนอื่นของภูมิภาคเอเชีย โดยเริ่มต้นจากประเทศไทยเป็นประเทศแรก

โดรนเซลล์เชื้อเพลิงที่ใช้ในการสาธิตการทดลองร่วมกับ CP Group

โตโยต้าจะมุ่งมั่นพยายามต่อไปในการสร้าง "ความเป็นกลางทางคาร์บอน" ให้เกิดขึ้นจริง

ผ่านแนวทาง "ทางเลือกที่หลากหลาย" ร่วมกับพันธมิตรของเรา